ค้นหา

 

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

วันมาฆบูชา


ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
ความสำคัญ
๑. เป็นวันที่พระสงฆ์ ๑,๒๕o รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
๒. พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้า
๓. พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์

วันวิสาขบูชา


ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖
ความสำคัญ
๑. เป็นว้นประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ
๒. วันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
๓. วันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ณ เมืองกุสินารา

หลักธรรมทางพุทธศาสนา


หลักธรรมทางพุทธศาสนา


หัวใจของพุทธศาสนาคือ ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์

อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ
1. ทุกข์ คือ ความไม่สบายใจ
2. สมุทัย คือ เหตุให้เกิดทุกข์ ประกอบด้วยความอยาก
3. นิโรธ คือ การดับทุกข์
4. มรรค คือ การปฏิบัติเพื่อดับทุกข์

หรหมวิหาร 4 คือ บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่มีจิตใจอันประเสริฐ
1. เมตตา
2. กรุณา
3. มุฑิตา
4. อุเบกขา

เบญจธรรม คือ ข้อปฎิบัติให้บุคคลทำความดี 5 ประการ ได้แก่
1. มีความเมตตา กรุณา ไม่ฆ่าหรือรังแกสัตว์
2. มีสัมมาอาชีวะ ไม่ลักขโมย
3. มีความสำรวมในกาม ไม่ล่วงละเมิดในบุตร ภรรยา หรือสามีผู้อื่น
4. มีความซื่อสัตย์ ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด
5. มีสติสัมปชัญญะ ไม่ดื่มสุราหรือของมึนเมา

ทิศ6 คือ บุคคลประเภทต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ดุจทิศที่อยู่รอบตัวจัดเป็น 6 ทิศ ดังนี้
1. ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา
2. ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์
3. ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ สามีภรรยา
4. ทิศเบื้องซ้ายได้แก่ มิตรสหาย
5. ทิศเบื้องบนได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์
6. ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้างกับนายจ้าง

การเผยแผ่พุทธศาสนาเข้ามาในประเทศไทย


พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่ประเทศไทยนานนับพันปี ตามหลักฐานดังนี้

พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ส่งพระสมณทูต คือ พระโสณเถระกับพระอุตรเถระ มายังดินแดนสุวรรณภูมิ เพื่อเผยแผ่พุทธศาสนานิกายเถรวาท มีหลักฐานปรากฎคือ พระปฐมเจดีย์

ประเภทและองค์ประกอบของศาสนา


ศาสนาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. เทวนิยม (นับถือพระเจ้า) เช่น คริสต์ อิสลาม ฮินดู
2. อเทวนิยม (ไม่นับถือพระเจ้า) เช่น พุทธ

องค์ประกอบของศาสนา
1. ศาสดา
2. คำสอน พระคัมภีร์
3. นักบวช
4. ศาสนสถาน
5. พิธีกรรม

ความสำคัญของพระพุทธศาสนา
1. สอนให้มีจุดมุ่งหมายของชีวิต
2. สอนให้เป็นคนมีเหตุผล
3. มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทย
4. เสริมสร้างขนบธรรมเนียม ประเพณี
5. ส่งเสริมด้านศิลปกรรม
6. เป็นที่มาของวัฒนธรรมภาษาและวรรณคดี

แนวข้อสอบ ศาสนา

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552

คำชี้แจง ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย X หน้าข้อที่ถูกที่สุด

1. เมื่อมีพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งไม่ใช่ศาสนาของตนเองควรปฏิบัติอย่างไร

ก. ลุกออกจากสถานที่นั้นทันที
ข. แสดงออกถึงศาสนาของตน
ค. ไม่เข้าไปในสถานที่เช่นนั้นอีก
ง. แสดงความสำรวมกิริยาท่าทาง

2. ข้อใดไม่ใช่ศาสนพิธี

ก. การประชุมทางศาสนา
ข. การแสดงธรรมเทศนา
ค. การฝึกนั่งสมาธิ
ง. การปลุกเสกของขลัง

3. ข้อใดคือความมุ่งหมายของศาสนพิธี

ก. โฆษณาชวนเชื่อ
ข. ชักชวนกันสร้างวัตถุ
ค. เป็นการเผยแพร่ศาสนา
ง. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

4. ข้อใดคือมารยาทที่ไม่ควรปฏิบัติต่อศาสนาอื่น

ก. ไม่ลบหลู่ศาสนาอื่น
ข. ไม่ควรเรียนรู้ศาสนาอื่น
ค. ไม่ควรลบหลู่สถานที่สำคัญทางศาสนา
ง. ล้อเลียนเหยียดหยามผู้นับถือศาสนาอื่น

5. การทำบุญของชาวพุทธเน้นในเรื่องใด

ก. พิธีกรรม
ข. ความสามัคคี
ค. ความศักดิ์สิทธิ์
ง. การทำความดี

6. ศาสนพิธีใดที่นักเรียนควรปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน

ก. การอาราธนาศีล
ข. การอาราธนาธรรม
ค. การทำบุญตักบาตร
ง. การสวดมนต์ไหว้พระ

7. ข้อใดไม่ใช่หลักในพุทธโอวาท

ก. การทำแต่ความดี
ข. การไม่ทำความชั่วทั้งปวง
ค. การประกอบศาสนพิธีสม่ำเสมอ
ง. การทำจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด

8.การประกอบพิธีฮัจญ์ของศาสนาอิสลามจะกระทำที่ใด

ก. มัสยิด
ข. นครเมกกะ
ค. ที่ใดก็ได้
ง. ภายในบ้าน

9.ศาสนาใดที่มุ่งสอนให้มนุษย์มีความรักเมตตากรุณาต่อกันเป็นสำคัญ

ก. คริสต์
ข. อิสลาม
ค. พุทธ
ง. พราหมณ์ – ฮินดู

10.ข้อใดไม่จัดอยู่ในองค์ประกอบของศาสนา

ก. ศาสดา
ข. ศาสนสถาน
ค. คัมภีร์
ง. ประเพณี

ลักษณะภูมิปัญญาไทย

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552



1. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเป็นทั้งความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม

2. ภูมิปัญญาไทยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ

3. ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิตของคน

4. ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และการเรียนรู้ เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม

5. ภูมิปัญญาไทยเป็นพื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต เป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ

6. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะ หรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง

7. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคม

อาชีพที่สำคัญของประชากรไทย




อาชีพของประชากรไทยส่วนใหญ่ยังคงเน้นที่อาชีพเกษตรกรรม อันเป็นอาชีพดั้งเดิมของชนชาวไทย รองลงมาคือ อาชีพด้านอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม นอกจากนี้ก็ประกอบอาชีพอื่น ๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการ รับราชการ รัฐวิสาหกิจ การเมือง แพทย์ ทนายความ และอีกหลายสาขาอาชีพ ตลอดจนผู้ใช้ฝีมือแรงงาน
ทำนา มีฝนตก ต้องปลูกบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ
ทำสวน บริเวณที่อุดมสมบูรณ์
ทำไร่ บริเวญที่อุดมสมบูรณ์
เลี้ยงสัตว์ ภูมิอากาศแห้งแล้ง เป็นทุ่งหญ้า


(1) ภาคเหนือ อาชีพหลัก คือ อาชีพเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมไม้แปรรู้ โดยเฉพาะไม้สัก

(2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาชีพหลัก คือ อาชีพเกษตรกรรม

(3) ภาคกลาง อาชีพหลัก คือ อาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำนาเกลือ ทำประมง และเป็นแหล่งอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องไฟฟ้า การแปรรูปอาหาร

(4) ภาคตะวันออก อาชีพหลัก คือ อาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำไร้ และสวนผลไม้ และการทำประมง อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมจากแหล่งน้ำมัน และการขุดพลอย

(5) ภาคตะวันตก อาชีพหลัก คือ อาชีพเกษตรกรรม การทำเหมืองแร่

(6) ภาคใต้ อาชีพหลัก คือ อาชีพเกษตรกรรม การทำประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมเหมือแร่

ประชากร

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552




ประชากร หมายถึง หมู่คนหรือสิ่งมีชีวิต หนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ในระยะเวลาเดียวกัน

ความสำคัญของประชากร
11 กรกฎาคม เป็นวันประชากรโลก
ประชากรมีความสำคัญต่อประเทศชาติในด้านเศรษฐกิจ ถ้าไม่มีประชากรก็ไม่มีการแลกเปลี่ยนสินค้า การค้าขาย เศรษฐกิจก็จะไม่เติบโต ฉะนั้นประชากรจึงมีความสำคัญต่อประเทศชาติ

ประชากรไทย
สถิต ปี 2551 ประมาณ 63 ล้านคน

การนับถือศาสนาของประชากรไทย
สำหรับประเทศไทย ประชาชนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา โดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภ์ทุกศาสนา ศาสนาสำคัญ และมีคนนับถือมากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์