ค้นหา

 

ความหมายและความสำคัญของประวัติศาสตร์

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553



ประวัติศาสตร์
คือ การศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ของมนุษย์ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ด้วยจากหลักฐานเอกสารต่าง ๆ รวมไปถึง คำบอกเล่า นิทาน ตำนานต่าง ๆ ซึ่งเรื่องราว หรือหลักฐานเหล่านั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอันส่งผลสืบเนื่องจากช่วงเวลาหนึ่งไปจนถึงช่วงเวลาหนึ่ง ด้วยระเบียบวิธีการทางประวัติศาสตร์

ความสำคัญของประวัติศาสตร์ คือ เป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจถึงที่มาที่ไปของกลุ่มชน ก่อให้เกิดความรักและสามัคคี สำนึกรู้และเกิดความภาคภูมิใจในกลุ่มของตน

ข้อมูลจาก google.guru

เฮโรโดตุส บิดาแห่งประวัติศาสตร์โลก


เฮโรโดตุส (Herodotos หรือ Herodotus – ประมาณ พ.ศ. 58-118) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกผู้บันทึกสงครามเปอร์เซีย ผู้เริ่มต้นประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก เกิดที่เมืองฮาลิคาร์นาสซัซ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชียไมเนอร์ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซีย เฮโรโดตุสได้เดินทางท่องเที่ยวศึกษาทั่วดินแดนในเอเชียไมเนอร์และตะวันออกกลาง และยังได้เดินทางลงใต้ไปอียิปต์ถึงเมืองเอเลแฟนทีน (อัสวานในปัจจุบัน)


แผนที่โบราณแสดงส่วนของโลกที่มีมนุษย์อยู่อาศัย (Oikumene) ประมาณ พ.ศ. 90 หรือ 450 ปีก่อนคริสตกาล โดยจำลองจากบันทึกของเฮโรโดตุส
เฮโรโดตุส เคยอาศัยอยู่ที่กรุงเอเธนส์ หรืออย่างน้อยก็ตอนกลางของกรีกและได้พบกับโสโฟเคิลส์ (Sophocles) ก่อนที่จะไปเข้าเป็นพลเมืองร่วมอยู่กับอาณานิคมกรีกที่เมืองธุริ (Thurii) เมื่อปี พ.ศ. 100 และจากเมืองอาณานิคมธูรินี้เฮโรโดตุสก็ได้เดินทางไปซิชิลีและอิตาลีตอนล่าง จากนั้นไปถึงลิเบีย ซีเรีย บาบิโลเนีย เมืองซูซาในอีแลม ลีเดีย ไพรเจียจนถึงไบเซนทิอุม (Byzantium) และมาซิโดเนีย โดยเดินทางทั้งทางบกและทางเรือ ทางภาคเหนือเฮโรโดตุสได้ไปถึงดานุบและไซเธียไปจนถึงทะเลดำ ซึ่งคงใช้เวลาเดินนานหลายปี ในระหว่างการเดินทางเขาได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่ได้พบเห็นไว้เป็นจำนวนมากและได้นำมาใช้ในการพรรณาทางประวัติศาสตร์ที่ถือว่ายิ่งใหญ่ โดยได้บันทึกสงครามระหว่างกรีกกับเปอร์เซีย และยังเป็นผู้จัดลำดับเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกขึ้นเป็นครั้งแรกซึ่งยังเป็นที่อ้างอิงกล่าวขานมาจนถึงปัจจุบัน ซิเซโรขนานนามเฮโดโรตุสว่าเป็น “บิดาแห่งประวัติศาสตร์"

ข้อมูลจาก wikipedia

อุปสงค์ และ อุปทาน

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553


อุปสงค์ คือ ปริมาณความต้องการสินค้าของผู้บริโภค ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยจะต้องมีทั้งความต้องการที่จะซื้อ และความสามารถในการซื้อ ดังนั้นอุปสงค์ในความคิดของผมคือ ปริมาณสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ ณ ระดับราคาต่าง ๆ ของสินค้าหรือบริการ และมีความสามารถที่จะซื้อสินค้านั้นได้

อุปทาน คือ ปริมาณเสนอขายสินค้า ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง(และต้องมีความสามารถในการผลิตปริมาณสินค้าในระดับการผลิตที่ยินดีเสนอขายด้วย) ดังนั้นอุปทานในความคิดของผมคือ ปริมาณความต้องการขายสินค้าหรือบริการ ณ ระดับราคาต่าง ๆ ของสินค้าหรือบริการ และสามารถขายสินค้านั้นได้