ค้นหา

 

แบบทดสอบ กฎหมายจราจร ป.6

วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

 

กฏหมายที่เกี่ยวกับการจราจรทางบก (จบ)

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556



การปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจรในการขับขี่รถ  มีดังต่อไปนี้ครับ

1. ไฟแดง   ให้หยุดรถหลังเส้นหยุดรถ
2. ไฟเหลือง  เตรียมหยุดรถหลังเส้นให้หยุด ไม่ใช่ยิ่งเร่งนะจ๊ะ
3. ไฟเขียว ให้ขับขี่ต่อไปได้ เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรกำกับไว้เป็นอย่างอื่น





การปฏิบัติตามกฎจราจรของคนเดินเท้า   ผู้ที่เดินตามทางเท้าควรปฏิบัติตามกฎดังนี้

1. ให้น้องๆเดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง หากไม่มีทางให้เดินก็ให้เดินริมทางเดินด้านขวามือ
2. ห้ามเดินเท้านอกทางข้าม (ทางม้าลาย) ในระยะไม่เกิน 100 เมตรนับจากทางข้าม
3. กรณีที่ทางข้ามมีไฟจราจรควบคุม  ควรทำดังนี้
     3.1  ไฟแดง    ให้หยุดรอบนทางเท้า
     3.2  ไฟเขียว   เดินข้ามทางเดินรถได้

ประโยชน์ของการปฏิบัติตามกฎหมายจราจรทางบก
1.  ทำให้การจราจรไม่ติดขัดบนถนน
2.  ป้องกับอุบัติเหตุบนท้องถนน
3.  ลดความเสียหายทางเศรษฐกิจ เมื่อไม่มีอุบัติเหตุประชาชนก็ไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาล

สำหรับวันนี้ของทบทวน วิชา สังคมศึกษา ป.6 แค่นี้ก่อนนะครับ

กฎจราจรของผู้ขับขี่รถยนต์และคนโดยสาร

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556


เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากๆ ควรปฏิบัติดังนี้นะครับ

1. ผู้ขับขี่รถยนต์และคนโดยสารซึ่งนั่งที่นั่งด้านหน้าต้องรัดเข็มขัดนิรภัย ถ้าฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
2. ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถยนต์ยอมให้ผู้อื่นนั่งตอนหน้าแถวเดียวกับผู้ขับขี่เกิน 2 คน
3. ห้ามผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถขับรถยนต์
4. ผู้ขับขี่และผู้โดยสารห้ามมิให้ดื่มสุราหรือของมึนเมาในขณะขับรถ

ไม่ยากเกินไปสำหรับวิชาสังคมศึกษา ป.6 นะครับน้องๆ


กฎจราจรของผู้ขับขี่และคนโดยสารรถจักรยานยนต์

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556



"ยามาฮ่า ฮอนด้า ซูซูกิ  ซูซูกิ  ฮอนด้า ยามาฮ่า  วิ่งไปวิ่งมาหัวบิด ซูซูกิ ฮอนด้า ยามาฮ่า"  น้องๆคงเคยเห็นอุบัติเหตุบนท้องถนนมาบ้างแล้ว  เรามาดูกันครับว่า ผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์และผู้ที่ซ้อนท้าย กฎหมายบอกว่าควรปฏิบัติอย่างไร

1. ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์จะต้องมีใบอนุญาต และมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์
2. ผู้ขับขี่และผู้ที่ซ้อนท้าย จะต้องสวมหมวกนิรภัย ผู้ที่ฝ่าฝืนจะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
3. ต้องเปิดไฟหน้ารถจักรยานยนต์เพื่อลดอุบัติเหตุ

สังคมศึกษา ป.6



กฎหมายการจราจรทางบก : สังคมศึกษา ป.6

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556


น้องๆคงเคยนั่งรถไปกับคุณพ่อคุณแม่ หรือ เดินตามถนนต่างๆมาบ้างแล้ว บางครั้งหากมีการใช้รถใช้ถนนไม่ดีก็อาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ เช่น รถชนกัน  ฝ่าฝืนกฎจราจร ดังนั้นจึงต้องมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจราจรเข้ามา ที่เรียกกันว่า กฎหมายที่เกี่ยวกับการจราจรทางบก

หากได้เรียนวิชาสังคมศึกษา ป.6 ก็จะต้องรู้ความสำคัญของกฎหมายการจราจรทางบกให้มากๆ เพราะในสภาพปัจจุบันการคมนาคมขนส่งได้ขยายตัวออกไปมาก อีกทั้งมีจำนวนยานพาหนะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้จำนวนของอุบัติเหตุในท้องถนนเพิ่มขึ้นมากด้วย

ดังนั้น จึงต้องมีการตราพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 เพื่อให้ในการคุ้มครองผู้ใช้รถใช้ถนน มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรที่น้องๆควรรู้ มีดังนี้

1. การปฏิบัติตามกฎจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยาน    เพื่อความปลอดภัยของน้องๆ ควรปฏิบัติดังนี้นะครับ


  • ขับขี่จักรยานในทางที่จัดไว้ให้ กรณีท่ไม่มีให้น้องๆ ขับชิดขอบทางด้านซ้ายของถนน ไหล่ทางให้มากที่สุด
  • จักรยานของน้องๆจะต้องมีกระดิ่งให้สัญญาณ เครื่องห้ามล้อ(เบรค) ไฟติดหน้ารถและท้ายรถเพื่อให้มองเห็นได้แต่ไกล
  • ไม่ควรขับขี่จักรยานในลักษณะผาดโผน ประมาท หวาดเสียว เปรี้ยวสุดๆ หรือขับขี่โดยไม่จับคันบังคับ (อยากเท่ห์)
หวังว่าข้อปฏิบัติต่างๆเหล่านี้จะช่วยให้น้องๆได้มีความรู้เกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานมากขี้นนะครับ






สังคมศึกษา ป.6

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

           

 
น้องๆคงรู้แล้วใช่รึเปล่าว่ากฎหมายนั้นมีความสำคัญอย่างไร เพราะกฎหมายเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องและผูกพันกับชีวิตของเราทุกคน ซึ่งแต่ละคนก็มีหน้าที่ตามที่กฎหมายได้กำหนดตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้นถ้าน้องๆได้เรียนรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันก็จะเป็นประโยชน์มากๆ ซึ่งจะทำให้เรารู้ถึงสิทธิหน้าที่ของแต่ละคน และสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ทำผิดกฎหมายซึ่งทำให้เกิดผลเสียต่างๆ  และยังทำให้น้องๆได้รู้เท่าทันไม่เสียเปรียบผู้อื่น ต่อไปน้องๆ ป.6 จะได้เรียนสังคมศึกษาในหัวข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัว และชุมชน ติดตามต่อไปนะครับ


สังคมศึกษา ป.6

ข้อสอบ พุทธประวัติ ป.6

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

ได้คำตอบแล้วกดEnterเลยจ้า  

แบบทดสอบ เศรษฐกิจพอเพียง ป.6

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในท้องถิ่น

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ น้องๆอาจยังสงสัยใช่รึเปล่าครับว่า การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในท้องถิ่นนั้นเป็นอย่างไร จะยกตัวอย่างง่ายๆนะครับ ปกติแล้วในท้องถิ่นส่วนใหญ่ก็จะเป็นการทำอาชีพเกษตรส่วนใหญ่ ดังนั้น การรวมกลุ่มของเกษตรกรก็เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้มีอาชีพเกษตรไม่จำเป็นต้องพึงพ่อค้าคนกลางในการจำหน่ายสินค้า และทำให้สามารถต่อรองราคาสินค้าที่จะจำหน่ายได้ยังไงล่ะครับ



ดังนั้นการพัฒนากลุ่มเศรษฐกิจภายในท้องถิ่นหรือเศรษฐกิจชุมชน จะต้องอาศัยปัจจัยต่างๆดังนี้

1. จะต้องเกิดการเรียนรู้ภายในชุมชนหรือท้องถิ่น

2. วิเคราะห์ความสามารถของท้องถิ่นของตน

3. มีการวางแผนตามแนวทางต่างๆ

4. พัฒนาระบบตลาดให้ดี

5. เผยแพร่ความรู้เศรษฐกิจภายในชุมชนออกไป


ครั้งหน้าจะนำตัวอย่างของการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในชุมชนที่ประสบความสำเร็จมาให้เป็นแนวทางในการเรียนรู้ อย่างลืมติดตามนะครับ ^^

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ป.6

วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556



ในการทำงานของระบบเศรษฐกิจระบบใดๆ ก็จะต้องอาศัยหน่วยเศรษฐกิจ ซึ่งก็คือ หน่วยครัวเรือน หน่วยธุรกิจ และหน่วยรัฐบาล ซึ่งแต่ละหน่วยจะต้องทำงานโดยมีความสัมพันธ์กันโดยมีัความสัมพันธ์กันในด้านต่างๆดังนี้ คือ

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ

1. ความสัีมพันธ์ทางการผลิต คือ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการผลิตและผลผลิต

2. ความสัมพันธ์ทางการแลกเปลี่ยน คือ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค

การแลกเปลี่ยน

ประเภทของการแลกเปลี่ยน

1. การแลกเปลี่ยนระหว่างสินค้าต่อสินค้า  เป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างบุคคล 2 บุคคล โดยนำสินค้ามาแลกเปลี่ยนกัน เช่น  ชาวนามีข้าว นำมาแลกปลาจากชาวประมงโดยที่ไม่ต้องมีตัวกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งการแลกเปลี่ยนวิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้กันมาในสมัยโบราณ

2. การแลกเปลี่ยนโดยใช้เงินเป็นสื่อกลาง เป็นการแลกเปลี่ยนโดยอาศัยเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนซึ่งผู้แลกเปลี่ยนก็สามารถนำเิงินที่ได้มานั้นไปแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าที่ตนเองต้องการได้

เป็นยังไงบ้างครับน้องๆ พอเข้าใจบ้างรึเปล่าครับ ยังไงก็ติดตามต่อไปนะครับ ถ้ายังงงๆ ก็ดูคำอธิบายจากวีดีโอได้นะ

แบบทดสอบ ภาษี

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เศรษฐกิจพอเพียง ป.6

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556




จากปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มดำเนินงานมาเป็นเวลานาน ก่อนที่จะเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีหลักการที่ง่ายไม่ซับซ้อน สามารถประยุกต์ใช้ได้กับคนทุกระดับ ทุกชนชั้น เป็นการมองย้อนกลับไปยังวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย ที่เน้นความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย เน้นเกษตรกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมานานแล้ว

เศรษฐกิจพอเพียงจะเน้นถึง ทางสายกลาง ซึ่งในเนื้อหา สังคมศึกษา ป.6 ได้นำมาให้ได้ศึกษา โดยมีหลักการดังนี้ คือ

ความพอเพียง จะประกอบไปด้วยคุณลักษณะสำคัญ 3 ประการ ดังนี้

1. ความพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล
3. ความมีภูมิคุ้มกันที่ดี

โดยอาศัยเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ กล่าวคือ

1. เงื่อนไขความรู้
2. เงื่อนไขคุณธรรม

จะทำให้ประเทศชาติมีพัฒนาการที่สมดุล ยั่งยืน พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้าน



สังคมศึกษา ป.6



ภาษี

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


ภาษี

 คือ รายได้ของรัฐที่ได้มาจากประชาชน เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาภายในประเทศ

จุดมุ่งหมายของภาษี
-เพื่อเป็นรายได้ของรัฐบาล
-เพื่อควบคุมการนำเข้าสิ่งของฟุ่มเฟือยต่างๆ
-เพื่อหาเงินไปชำระหนี้ที่รัฐกู้ยืมมาเพื่อพัฒนาประเทศ
-เพื่อเป็นเครื่องจูงใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน
-เพื่อใช้เป็นเครื่องมือขจัดความเหลื่อมล้ำทางฐานะ
-เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในนโยบายการคลังของประเทศ
-อื่น ๆ 


สังคมศึกษา ป.6

หน่วยเศรษฐกิจ : สังคมศึกษา ป.6

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หน่วยเศรษฐกิจ

ระบบเศรษฐกิจ มีส่วนประกอบมากมาย ส่วนย่อยหนึ่งของระบบที่สำคัญคือ หน่วยเศรษฐกิจ

หน่วยเศรษฐกิจ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการผลิต การบริโภค และการกระจายสินค้าและบริการ เพื่อให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ หน่วยครัวเรือน หน่วยธุรกิจ และหน่วยรัฐบาล

1. หน่วยครัวเรือน  ได้แก่  หน่วยเศรษฐกิจที่มีคนเพียงหนึ่งคนหรือมากกว่า อาศัยร่วมกัน และตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด สมาชิกอาจเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต แรงงาน นักธุรกิจ หน้าที่ของหน่วยครัวเรือนคือ การใช้จ่ายเงินที่ได้จากการขายปัจจัยการผลิต การใช้แรงงาน และการเป็นผู้ประกอบการ

2. หน่วยธุรกิจ ได้แก่ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่นำเอาปัจจัยการผลิตมาผลิตเป็นสินค้าและบริการ แล้วก็นำไปขายให้กับหน่วยอื่นๆ เข้าใจนะหนูๆ  ส่วนเป้าหมายคือ หากำไรให้ได้มากที่สุด

3. หน่วยรัฐบาล ได้แก่ หน่วยงานต่างๆของรัฐบาล ทำหน้าที่ต่างๆซึ่งมีความสัมพันธ์กับหน่วยธุรกิจอื่นๆ เช่น เรียกเก็บภาษีต่างๆ และยังคุ้มครอง นอกจากนี้ยังเป็นผู้บริโภคและเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตด้วย




สังคมศึกษา ป.6

การใช้ทรัพยากร : สังคมศึกษา ป.6

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน



คนเราต้องการสินค้าและบริการต่างๆมาก แต่สิ่งที่จะนำมาตอบสนองความต้องการนั้นมีอยู่อย่างจำกัด จึงต้องมีการหาวิธีที่จะเอาสิ่งที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์

ทรัพยากร หมายถึง สิ่่งที่มีอยู่รอบๆตัวเรา สามารถนำไปใช้ในการอุปโภคและบริโภค และใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขสบาย ซึ่งในทุกวันนี้เราสามารถอยู่ได้ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ทั้งในสิ่งที่จำเป็นปัจจัย 4 และเครื่่องอำนวยความสะดวกต่างๆ

ทรัพยากร แบ่งต่างคุณสมบัติ 2 ประเภทได้แก่

1. ทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่หมดไป คือ เมื่อใช้ไปแล้วสามารถเกิดขึ้นใหม่ได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า หรือ แสงแดด เป็นต้น

2. ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป  คือ เมื่อให้ทรัพยากรนี้แล้วจะไม่สามารถนำมาทดแทนได้ หรือ ต้องใช้เวลานานมาก

สังคมศึกษา ป.6

ศาสนพิธี : สังคมศึกษา ป.6

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การอาราธนาศีล

ในการทำบุญพิธีต่างๆ จะมีการปฏิบัติในการอาราธนาศีล ก่อนที่พระสงฆ์จะสวดมนต์เสมอ เพื่อเป็นการขอศีลจากพระสงฆ์

การอาราธนา คือ การเชิญพระสงฆ์ให้มาประกอบพิธีกรรมต่างๆ

การอาราธนาศีล คือ การเชิญให้พระสงฆ์ให้ศีลในพิธี หรือเป็นการขอให้พระสงฆ์ให้ศีล เป็นการแสดงความตั้งใจที่จะรับศีลและรักษาศีล




สังคมศึกษา ป.6

การบริหารจิต และเจริญปัญญา



การบริหารจิตและเจริญปัญญา


การบริหารจิต คือ การฝึกฝนจิตใจของตนเองให้มุ่งคิดในสิ่งที่ดีงามและมีเหตุผล 

การเจริญปัญญา คือ การมีจิตใจที่เข้มแข็ง เกิดความคิดที่มีเหตุผล สามารถแยกแยะได้ถูกต้องว่า สิ่งใดดีมีประโยชน์ สิ่งใดชั่วทำให้เกิดโทษ แล้วรู้จักเลือกปฏิบัติให้เกิดผลดีแก่ตนเอง


ความหมายของสติ สัมปชัญญะ สมาธิ และปัญญา

สติ คือ ความระลึกได้ หมายถึง รู้ตัวว่ากำลังทำอะไร และสามารถควบคุมตนเองได้ให้กระทำให้สิ่งที่เหมาะสม

สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว รับรู้ในสิ่งที่ทำ พูด คิด เป็นการรู้จักไตร่ตรองว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ดี สิ่งใดเป็นสิ่งที่ไม่ดี

สมาธิ คือ ความตั้งมั่นแห่งจิต หมายถึง มีความตั้งใจแน่วแน่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ปัญญา คือ  ความรอบรู้ที่เข้าใจอย่างชัดเจน ผ่านการไตร่ตรอง มีเหตุผล มีความถูกต้องดีงาม

สังคมศึกษา ป.6

มงคล 38 : สังคมศึกษา ป.6

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

มงคล 38

มงคล 38 คือ หนทางที่จะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง พระพุทธเจ้าทรงกล่าวไว้ มี 38 ข้อ ซึ่งในวิชาสังคมศึกษา ป.6 มีการเรียนรู้ 3 ข้อ คือ

1. การมีระเบียบวินัย  คือ ปฏิบัติตามกฎ กติกา คำสั่งในการทำกิจกรรมต่างๆ ต้องมีวินัย มีระเบียบ มีการวางแผนทีดี ทำให้กิจกรรมต่างๆ ประสบความสำเร็จ

2. การงานไม่มีโทษ คือ การงานที่สุจริต มีความถูกต้อง ไม่ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นและสังคม

3. การไม่ประมาทในธรรม คือ การรู้จักระวังตัวไม่กระทำความผิดทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ การเชื่อฟังธรรมเป็นสิ่งทีมีค่า หากไม่เชื่อฟังก็อาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนได้


สังคมศึกษา ป.6

พุทธศาสนสุภาษิต : พระพุทธศาสนา ป.6

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พุทธศาสนสุภาษิต


พุทธศาสนสุภาษิต  คือ  ถ้อยคำหรือข้อความสอนใจที่พระพุทธเจ้าทรงสอนในทางพระพุทธศาสนา ในวิชาสังคมศึกษา ป.6 มีพุทธศาสนสุภาษิตที่ควรรู้คือ

สจฺเจน กิตฺตึ ปปฺโปติ
สจฺเจน กิตฺตึ ปปฺโปติ      อ่านว่า   สัจ - เจ - นะ - กิต - ตึง - ปัป - โป - ติ

แปลว่า  คนจะได้เกียรติด้วยสัจจะ  หมายถึง  คนที่พูดเท็จ ทำจริง มีความจริงใจ จะได้รับความไว้วางใจจากผู้อื่น

ยถาวาที  ตถาการี
ยถาวาที  ตถาการี  อ่านว่า    ยะ - ถา - วา - ที - ตะ - ถา - กา - รี
แปลว่า พูดเช่นไรทำเช่นนั้น หมายถึง คนที่พูดจริงทำจริงในสิ่งที่ถูกต้อง เช่นพูดว่าจะทำการบ้านให้เสร็จก็ทำตามนั้น คนเช่นนี้ทำสิ่งใดก็มีคนเชื่อถือ เพราะเป็นคนพูดจริงทำจริง

พระพุทธศาสนสุภาษิต  ป.6

แบบฝึกหัด ความสำคัญของพระพุทธศาสนา ป.6

วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พระพุทธศาสนา ป.6