ค้นหา

 

แบบทดสอบ ศาสนิกชนที่ดี

วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แบบทดสอบความรู้ออนไลน์

1. พิธีศีลกำลังของศาสนาคริสต์คล้ายกับพิธีใดของพระพุทธศาสนา


ก. พิธีบรรพชา
ข. พิธีทอดกฐิน
ค. พิธีเข้าพรรษา
ง. พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

2. ผู้ที่จะเข้าสังคมสิข ต้องผ่านพิธีใด


ก. พิธีสังคัต
ข. พิธีปาหุล
ค. พิธีสังสการ
ง. พิธีศีลกำลัง

3. การบวงสรวง เป็นพิธีกรรมของศาสนาใด


ก. ศาสนาพราหมณ์
ข. ศาสนาอิสลาม
ค. ศาสนาคริสต์
ง. ศาสนาสิข

4. ผู้หญิงไม่ควรเข้าไปที่ใดตามลำพัง


ก. กุฏิ
ข. โบสถ์
ค. วิหาร
ง. บริเวณหน้าวัด

5. ใครปฏิบัติตนไม่เหมาะสมต่อศาสนสถาน


ก. แมนใส่เสื้อยืดไปวัด
ข. บอยใส่เสื้อสวยไปวัด
ค. แนนใส่รองเท้าแตะไปวัด
ง. หญิงใส่ผ้าถุงยาวเลยเข่าไปวัด

6. ขณะนั่งฟังพระธรรมเทศนาควรปฏิบัติตนอย่างไร


คุยกันเบาๆ เกี่ยวกับหัวข้อธรรม
คิดถึงคนที่อยู่ที่บ้าน
นั่งฟังอย่างเงียบๆ
ลุกขึ้นเดินไปมา

7. การถวายของแก่พระสงฆ์ ผู้หญิงควรปฏิบัติอย่างไร


ก. ฝากผู้ชายส่งให้
ข. ส่งถึงมือพระสงฆ์
ค. วางตรงหน้าพระสงฆ์
ง. วางบนผ้าที่พระสงฆ์ทอดรับไว้

8. การฟังธรรมจะได้ประโยชน์สูงสุดเมื่อปฏิบัติตามข้อใด


ก. ฟังแล้วนำไปปฏิบัติ
ข. ฟังแล้วคิดตาม
ค. ฟังอย่างตั้งใจ
ง. ฟังแล้วจดจำ

9. ข้อใดเป็นการปฏิบัติตนตามแนวทางของพุทธศาสนิกชนที่ดี


ก. วางแผนไปเที่ยวเมื่อมีเวลาว่าง
ข. ให้เพื่อนลอกการบ้านเสมอ
ค. สวดมนต์ไหว้พระทุกวัน
ง. ไปคุยกับพระสงฆ์จนดึก

10. ข้อใดเป็นกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ชาวพุทธพึงกระทำมากที่สุด


ก. ช่วยพัฒนาวัด
ข. ละเว้นจากอบายมุข
ค. ปล่อยนก ปล่อยปลา
ง. ถวายสังฆทานแก่พระสงฆ์

ผลคะแนน =
เฉลยคำตอบ:



ข่าวสารและเหตุการณ์

แหล่งข่าวและเหตุการณ์มีที่มาจากหลายทาง ล้วนแต่มีประโยชน์ ซึ่งเราควรรู้จักติดตามและรับข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์จากสื่อต่างๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม


ใบงานที่ 1
เรื่อง ข่าวและเหตุการณ์ที่น่าสนใจ
คำชี้แจง    ให้นักเรียนแต่ละคนหาข่าวที่สนใจมาคนละ 1 ข่าว จากแหล่งข้อมูลต่างๆ แล้วบันทึกข้อมูล


















                                      ที่มา                                                           

1.      แหล่งข้อมูล


2.      ใจความสำคัญของข่าว


3.      ข้อเท็จจริงของข่าวที่น่าเชื่อถือ


4.      สอดคล้องกับหลักการเลือกรับข้อมูลข่าวสาร


5.      ประโยชน์ที่ได้รับจากข่าว





ข้อสอบ วิธีการทางประวัติศาสาตร์ ป.6

วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แบบทดสอบความรู้ออนไลน์

1. ข้อใดไม่ใช่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นหลักฐานชั้นต้น


ตำนาน
โบราณสถาน
ภาพถ่าย
โบราณวัตถุ

2. หลักฐานชั้นรองทางประวัติศาสตร์ คือข้อใด


ภาพถ่าย
อนุสาวรีย์
ปราสาทหิน
เครื่องทองโบราณ

3. ข้อใดไม่ใช่วิธีการหาความรู้ทางประวัติศาสตร์


การกำหนดหัวข้อ
การรวบรวมข้อมูล
การนำเสนอข้อมูล
การสร้างหลักฐานเอง

4. ใครอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการหาความรู้ทางประวัติศาสตร์


กุลนำเสนอข้อมูล
ลิงค้นคว้าในห้องสมุด
มะลิตีความหลักฐาน
พิกุลวิเคราะห์ข้อความในจารึก

5. ข้อใดไม่ใช่แหล่งค้นคว้าข้อมูลทางประวัติศาสตร์


ห้องสมุด
พิพิธภัณฑ์
วัดสมัยสุโขทัย
ห้างสรรพสินค้า

6. วิธีการทางประวัติศาสตร์ในขั้นตอนใดที่ช่วยให้ผู้ศึกษาใช้หลักฐานที่ถูกต้อง


กำหนดหัวข้อ
รวบรวมหลักฐาน
ตรวจสอบหลักฐาน
เรียบเรียงและนำเสนอ

7. พงศาวดารเป็นข้อมูลที่เน้นเรื่องใด


พระมหากษัตริย์
สามัญชน
พระสงฆ์
ชาวนา

8. “เรื่อง พระยากง พระยาพาน” เป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ประเภทใด


จารึก
จดหมายเหตุ
พงศาวดาร
ตำนาน

9. โบราณสถานในภาคเหนือ คือข้อใด


พระธาตุพนม
พระปฐมเจดีย์
พระธาตุหริภุญชัย
พระบรมธาตุไชยา

10. ใครไม่อยู่ในขั้นตอนของการสืบค้นหลักฐาน


พิกุลอ่านจารึก
มะลิใช้แบบสอบถาม
ซ่อนกลิ่นสัมภาษณ์ชาวบ้าน
ตันหยงเลือกหัวข้อการศึกษา

ผลคะแนน =

มารยาทไทย

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558


มารยาทไทย คือ กิริยา วาจาการพูดต่างๆ เช่น ยืน เดิน นั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่างๆที่สุภาพเรียบร้อยที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผนอันเหมาะสมตามกาลเทศะ และถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย

การแสดงความเคารพ

การประนมมือ (อัญชลีกรรม) คือ การประนมมือทั้งสองประนมให้ฝ่ามือทั้งสองประกบกันนิ้วทุกนิ้วแนบชิดติดกันไม่เหลื่อมล้ำกันหรือกางออกห่าง กระพุ่มมือที่ประนมนี้ไว้ระหว่างอกให้ตั้งตรงขึ้นข้างบนมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม แนบศอกทั้งสองข้างไว้ชิดกับชายโครง ไม่ปล่อยให้กางออกไปรักษาระดับกระพุ่มมือไว้ระหว่างอก เป็นการแสดงความเคารพเวลาสวดมนต์ หรือฟังสวดมนต์และฟังเทศน์

การไหว้ (นมัสการ) คือ การยกมือที่ประนมขึ้นจรดหน้าผาก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้วพร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย จะใช้แสดงความเคารพพระภิกษุสามเณร หรือปูชนียวัตถุปูชนียสถาน ในขณะที่ผู้ไหว้นั่งบนเก้าอี้หรือยืนอยู่ การไหว้บุคคลผู้อาวุโสกว่าให้ปล่อยมือจรดจมูกหรือคิ้ว การไหว้ผู้เสมอกันให้ประนมมือไหว้ระดับอก

การกราบ (อภิวาท) คือ การแสดงอาการกราบราบลงกับพื้นด้วยเบญจางคประดิษฐ์ คือด้วยองค์ประกอบทั้งห้าอย่าง ได้แก่ เข่าทั้งสอง ฝ่ามือทั้งสอง และศีรษะอันได้แก่ หน้าผากให้จรดกับพื้นเป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงต่อ พระรัตนตรัย มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
               ท่าเตรียมตัว นั่งคุกเข่า (ชายตามแบบชาย หญิงตามแบบหญิง) มือทั้งสองทอดวางเหนือเข่าทั้งสองให้นิ้วมือทั้งห้าแนบชิดกัน
                   -  จังหวะที่หนึ่ง ยกมือขึ้นประนมไว้ระหว่างอก ตามแบบการประนม
                   -  จังหวะที่สอง ยกมือที่ประนมขึ้นจรดหน้าผาก โดยให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้วตามแบบการไหว้ พระรัตนตรัย
                   -  จังหวัะที่สาม ก้มตัวลง ปล่อยมือทั้งสองให้ทอดลงกับพื้นโดยแบมือทั้งสองให้ข้อศอกต่อกับเข่าทั้งสอง ข้าง (สำหรับชาย) และให้ศอกทั้งสองข้างขนาบเข่าทั้งสองไว้(สำหรับหญิง) ให้ระยะมือทั้งสองห่างกันประมาณ ห้านิ้ว ก้มศีรษะให้หน้าผากจรดพื้นในระหว่างมือทั้งสองแล้วยกมือประนมขึ้นผ่านจังหวะ ที่หนึ่สอง และสามไปตามลำดับให้ต่อเนื่องกันทำติดต่อกันไปจนครบสามครั้ง
               เมื่อครบสามครั้งแล้วพึงยกมือขึ้นไหว้ตามแบบพระรัตนตรัย แล้วเปลี่ยนอริยาบทเป็นนั่งพับเพียบหรือลุกขึ้นตามกาลเทศะ
             การกราบบุคคล และกราบศพ เป็นการกราบด้วยวิธีกระพุ่มมือ และกราบเพียงครั้งเดียวไม่แบมือ ดังนี้
               1)  หากบุคคลหรือศพอาวุโสกว่าให้ประนมมือไหว้ ให้ปลายนิ้วจรดจมูก หรือจรดหว่างคิ้วก็ได้ถ้าคนเสมอกันประนมมือเพียงระหว่างอก
               2)  นั่งพับเพียบเก็บเท้า ตามแบบนั่งพับเพียบ
               3)  หมอบลงตามแบบหมอบ
               4)  มือทั้งสองกระพุ่มทอดลงกับพื้นไม่แบมือ
               5)  ก้มศีรษะลงจรดสันมือ กราบเพียงครั้งเดียว
               6)  เสร็จแล้วลุกขึ้นนั่งพับเพียบตามปกติ


ศพพระสงฆ์จะกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์สามครั้งก็ได้ สำหรับนาคกราบลาบวช หรือจะกราบบิดามารดาตอนรับผ้าไตรใช้แบบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง

วัฒนธรรมไทย

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วัฒนธรรมไทย


วัฒนธรรม คือ วีถีการดำรงชีวิตที่ดีงาม มีการสืบทอดจากอดีตสู่ปัจจุบันเป็นผลผลิตของมนุษย์ที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ทั้งทางด้านวัตถุ แนวคิดจิตใจ วัฒนธรรมในท้องถิ่นจะเป็นเอกลักษณ์ของสังคมท้องถิ่นนั้นๆ วัฒนธรรมคงอยู่ได้เพราะการเรียนรู้ของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจวบจนมาถึงปัจจุบัน และสร้างสรรค์พัฒนาขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่องเสมอ

วัฒนธรรมไทยที่สำคัญ

วัฒนธรรมไทยที่สำคัญ จนกลายเป็นวัฒนธรรมซึ่งต่างชาติยกย่อง และคนไทยมีความภูมิใจมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ได้แก่
 
ภาษาไทย ไทยเรามีภาษาและตัวอักษรเป็นของตนเองมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นในปี พ.ศ.1826 และได้มีการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาเปลี่ยนแปลงมาตามลำดับ เนื่องจากเราได้มีการติดต่อเกี่ยวกับนานาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม จึงได้รับวัฒนธรรมภาษาต่างชาติเข้ามาปะปนใช้อยู่ในภาษาไทย แต่ก็ได้มีการดัดแปลงจนกลายเป็นภาษาไทยในที่สุด ที่ใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้

ศาสนา พลเมืองไทยส่วนใหญ่ของประเทศนับถือพระพุทธศาสนา และเป็นศาสนาที่อยู่คู่บ้านบ้านมาช้านานแล้ว ศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมด้านอื่นๆ คนไทยได้ยึดถือเอาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ทั้งส่วนรวมและส่วนบุคคล จะมีพิธีทางศาสนาพุทธเกี่ยวข้องอยู่เสมอ

การแต่งกาย การแต่งกายของคนไทยมีแบบฉบับ และมีวิวัฒนาการมานานแล้ว โดยจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน ตามสมัยและโอกาสต่างๆ โดยมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่แต่งกายตามสากลอย่างชาวตะวันตก  แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังมีจิตใจที่รักในวัฒนธรรมการแต่งกายของไทยแบบดั้งเดิมอยู่ ดังจะเห็นได้จากในงานพิธีกรรมต่างๆ จะมีการรณรงค์ให้ใส่ผ้าไทย หรือชุดไทย หรือรณรงค์ให้ใส่ผ้าไทยในชีวิตประจำวัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่ชาติอื่นให้ความชื่นชม

ศิลปกรรม ถือเป็นภูมิปัญญาไทยที่สำคัญ โดยเป็นผลงานที่สร้างขึ้นเพื่อความสวยงามก่อให้เกิดความสุขทางใจ ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากพุทธศาสนา  ได้แก่ ผลงานที่ปรากฏตามวัดวาอารามต่างๆ เรือนไทยที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษ ศิลปกรรมไทยที่สำคัญได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ วรรณกรรม

วิธีการทางประวัติศาสตร์

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558



วิธีการทางประวัติศาสตร์  หมายถึง การศึกษาประวัติศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ กาลเวลาและนักประวัติศาสตร์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีวิธีการในการรวบรวมค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์หาเหตุผล และข้อสรุป ซึ่งจะเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ  ดังนี้

1.การตั้งประเด้นที่จะศึกษา

2.สืบค้นและรวบรวมข้อมูล

3.วิเคราะห์และตีความข้อมูล

4.การคัดเลือกและประเมินข้อมูล

5.การเรียบเรียงรายงายข้อเท็จจริง