ภูมิลักษณ์ที่มีต่อภูมิสังคมของประเทศไทย
แต่ละภาคของประเทศไทยจะมีลักษณะของภูมิลักษณ์และภูมิสังคมที่แตกต่างกันดังนี้
ภาคเหนือ
ภูมิลักษณ์ ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทือกเขากระจายอยู่ทั่วไป แต่จะมีที่ราบเพียงเล็กน้อยระหว่างเทือกเขา มีเทือกเขาที่สำคัญเช่น เืทือกเขาถนนธงชัย เืทือกเขาผีปันน้ำ เืืทือกเขาหลวงพระบาง มีแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน ป่าไม้ส่วนใหญ่จะเป็นป่าดิบเขา ป่าสนเขา บริเวณภูเขามีอากาศเย็น
ภูมิสังคม ประชากรจะตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบระหว่างภูเขา ประกอบอาชีพเกษตรกรรม บนภูเขาสูงอาจมีการปลูกพืชแบบขั้นบันได และปลูกพืชเมืองหนาว เช่น สตอบอรี มีการทำอุตสาหกรรมไม้แปรรูป ผู้คนส่วนใหญ่มีชีวิตความเป็นอยู่ผูกพันกับธรรมชาติ จึงเกิดเป็นประเพณีต่างๆ
ภาคกลาง
ภูมิลักษณ์ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำป่าสัก ทางตอนล่างมีส่วนที่ติดกับทะเล ป่าไม้เป็นป่าดงดิบ ป่าเต็งรัง ป่าชายเลน
ภูมิสังคม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เพราะดินส่วนใหญ่เป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ ส่วนพื้นที่ที่ติดทะเลประชากรจะประกอบอาชีพเป็นชาวประมง ทำนาเกลือ มีศูนย์กลางความหนาแน่นที่กรุงเทพมหานคร
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภูมิลักษณ์ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงที่มีแอ่งกระทะขนาดใหญ่ทางตอนกลาง คือแอ่งโคราช และแอ่งสกลนคร มีเทือกเขาพนมดงรัก เทือกเขาภูพาน เืทือกเขาสันกำแพง เป็นเทือกเขาสำคัญ มีแม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม่น้ำสงคราม ทางตอนบนของภาคมีอากาศหนาวเย็น
ภูมิสังคม ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่ประสบปัญหาแห้งแล้ง เนื่องจากดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย ไม่อุ้มน้ำ พืชที่ปลูกจึงไม่ต้องใช้น้ำมาก เช่น อ้อย ปอ ฝ้าย มีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการขอฝนเช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีแห่นางแมว เป็นต้น
ภูมิศาสตร์ ป.6