องค์ประกอบที่สำคัญของแผนที่
วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557
แผนที่มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ
1. ชื่อแผนที่ จะบอกให้ผู้ใช้รุู้ว่าเป็นแผนที่เกี่ยวกับเรื่องอะไร เช่น แผนที่แสดงแนวเขตไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
2. สัญลักษณ์ คือ เครื่องหมายใช้แทนสิ่งที่ปรากฎบนพื้นโลกทั้งเป็นธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น เช่น จุด เส้น รูปวงกลม อาจแสดงเป็นสีก็ได้
3. มาตราส่วน คือ อัตราส่วนของระยะทางในแผนที่กับระยะทางจริง
4. ทิศ เป็นการกำหนดในแผนที่โดยให้ด้านบน คือ ทิศเหนือ ด้านล้าง คือ ทิศใต้ เมื่อเราหันหน้าไปทางทิศเหนือ ทิศตะวันออกจะอยู่ขวามือ และทิศตะวันตกจะอยุ่ซ้ายมือ
5. เส้นศูนย์สูตร เป็นเส้นสมมุติที่ลากแบ่งโลกในแนวนอน แบ่งออกเป็นสองส่วน เท่าๆกัน ส่วนที่อยุ่ตอนบนเรียกว่าซีกโลกเหนือ ส่วนที่อยู่ตอนล่างเรียกว่าซีกโลกใต้ โดยเส้นศูนย์สูตรมีละติจูดที่ 0 องศา
6. ระวางแผนที่ คือ ความกว้างความยาวของแผนที่่1 แผ่น โดยบอกค่าละติจูดและลองจิจูดกำกับไว้
ละติจูด คือ ค่าสมมุติที่ได้จากเส้นที่ลากไปรอบโลกในแนวนอน (แนวตะวันตกตะวันออก) แต่ละเส้นห่างกัน 1 องศา ทั้งหมดมี 180 เส้น (ซีกโลกใต้ 90 เส้น และซีกโลกเหนือ อีก 90 เส้น)
ลองจิจูด หรือ เมริเดียน คือ ค่าสมมุติที่ได้จากเส้นที่ลากรอบโลกในแนวตั้ง (แนวเหนือไปใต้) แต่ละเส้นห่างกัน 1 องศา มีทั้งหมด 360 เส้น (ทางตะวันตก 180 เส้น และทางตะวันออก 180 เส้น)
7. พิกัดภูมิศาสตร์ คือ การบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆบนพื้นโลก เกิดจากการตัดกันของเส้นละติจูดและลองจิจูด
รูปแบบการรวมกลุ่มเศรษฐกิจภายในท้องถิ่น
วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
รูปแบบการรวมกลุ่มเศรษฐกิจภายในท้องถิ่น
การรวมกลุ่มเศรษฐกิจภายในท้องถิ่นมีรูปแบบที่หลากหลาย จะยกตัวอย่างดังนี้นะครับ
1. กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จะเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการสร้างอาชีพ ให้แก่ชุมชน นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อให้แต่ละชุมชนได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถนัดมาขาย โดยรัฐช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ
2. กลุ่มออมทรัพย์ คือ การที่คนในชุมชนรู้จักประหยัด ออมเงิน และนำมาตั้งเป็นกองทุนในรูปแบบกลุ่มออมทรัพย์เพื่อช่วยเหลือกันและกันในด้านเงินทุนสำหรับการประกอบอาชีพ หรือใช้จ่ายในยามเดือนร้อนที่จำเป็นโดยการบริหารของสมาชิก และแบ่งปันช่วยเหลือกันในชุมชน
3. กลุ่มแม่บ้าน เป็นการรวมกลุ่มเพื่่อการประกอบอาชีพในการสร้างรายได้เสริมให้กับตนเองและครอบครัว โดยนำความรู้ที่ตนเองมีมาใช้แปรรูปทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีคุณค่า เพิ่มราคา และเป็นสินค้าออกจำหน่าย จนเป็นเอกลักษณ์ประจำหมู่บ้านและท้องถิ่น เช่น การทอผ้า การทำขนม การจัดทำเครื่องใช้ต่างๆ
สังคมศึกษา ป.6
ประวัติพุทธสาวก : พระราธเถระ
วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
พระราธเถระ
ท่านได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย เพราะท่านไม่เคยโกรธเคืองพระสารีบุตร ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ที่สั่งสอนท่านมา ทั้งยังปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างไม่มีข้อขัดแย้งแม้แต่น้อย
ประวัติ
พระราธเถระมีนามเดิมว่า ราธะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ อยู่ที่กรุงราชคฤห์ เป็นเศรษฐีที่มีอันจะกิน มีทรัพย์สินเงินทองมาก แต่ก็เกิดทุกข์ยากในยามชรา เพราะว่าลูกๆ ได้ทอดทิ้งท่าน ทำให้ท่านกลายเป็นคนยากจน จนต้องไปขออาศัยอยู่กับพระภิกษุที่ เวฬุวันมหาวิหาร
เมื่อท่านได้อาศัยอยู่กับพระนานๆเข้า ก็มองเห็นว่าชีวิตของพระภิกษุนั้นเรียบง่าย ทำให้เกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงขอบวชเป็นพระภิกษุ แต่ก็ไม่มีผุ้ใดที่ยอมบวชให้ท่าน จึงทำให้ท่านเสียใจมาก ไม่เป็นอันจะกินอันจะนอน หน้าตาก็ซูบซีดเพราะขาดอาหาร พระพุทธเจ้าได้ทรงทอดพระเนตรเห็นจึ่งได้ตรัสถามและได้ความว่า ท่านต้องการจะอุปสมบทแต่ไม่มีพระรูปใดอุปสมบทให้
พระพุทธเจ้าจึงได้เรียกประชุมสงฆ์และถามว่า เคยมีผู้ใดได้รับการอุปการะจากพราหมณ์ราธะผู้นี้บ้าง พระสารีบุตรซึ่งอยู่ในที่ประชุมนั้นด้วย ยอมรับว่าเคยรับบิณฑบาต 1 ทัพพี ดังนั้นพระพุุทธเจ้าจึงให้พระสารีบุตรอุปสมบทพระราธะ ด้วยวิธี ญัตติจตุถกรรมอุปสัมปทา คือ วิธีที่พระสงฆ์เป็นใหญ่ มีพระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์รูปแรก และพระราธะเป็นพระภิกษุรูปแรกที่ได้รับการอุปสมบทด้วยวิธีแบบนี้ จากนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงยกเลิกวิธีการบวชแบบ ไตรสรณคมน์ที่มีมาแต่เดิม
หลังจากอุปสมบทแล้ว วันหนึ่งพระราธะได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าขอให้ตรัสสอนธรรมที่จะนำไปสู่หนทางพ้นจากความทุกข์ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอนว่า "มาร คือ รูป เวทนา สัญญาณ สังขาร และวิญญาณ เป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ เป็นทุกข์ ดังนั้นเธอจึงต้องละสิ่งต่างๆเหล่านี้เสีย"
พระราธะได้นำโอวาทของพระพุทธเจ้าไปปฎิบัติอย่างเคร่งครัด และได้ติดตามพระสารีบุตร ไม่นานก็ได้บรรลุอรหันต์ ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ว่าง่าย สอนง่าย
น้องๆคิดว่า คุณธรรมของพระราธะที่ควรนำมาเป็นแบบอย่างมีอะไรบ้างจ๊ะ
พรุ่งนี้เฉลย
สังคมศึกษา ป.6
สังเวชนียสถาน 4
วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
สังเวชนียสถาน 4
สังเวชนียสถาน 4 หมายถึงสถานที่สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า โดยสร้างเป็นเจดีย์เพื่อเป็นที่เคารพสักการบูชาของพุทธบริษัท มีอยู่ 4 แห่ง คือ
1. สถานที่ประสูติ อยู่ที่สวนลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ ปัจจุบันสร้างเป็นวิหารมายาเทวี ณ สวนลุมพินีวัน ประเทศเนปาล
2. สถานที่ตรัสรู้ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ปัจจุบันสร้างเป็นเจดีย์พุทธคยาคู่กับพระศรีมหาโพธิ์ ที่พุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
3.สถานที่แสดงปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี ปัจจุบันสร้างเป็นธัมเมกขสถูป ที่เมืองสารนาถใกล้เมืองพาราณสี รัฐพิหารประเทศอินเดีย
4. สถานที่ปรินิพพาน อยู่ใกล้สาลวโนทยาน (สวนต้นสาละ) เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ปัจจุบันสร้างเป็นวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางมหาปรินิพพาน และมีมกฎพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้าที่รัฐอุตรประเทศ ประเทศอินเดีย
เนื้อหาดูจากคลิปนี้เพื่อความเข้าใจนะครับ
พุทธประวัติ : ปลงอายุสังขาร
วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
พุทธประวัติ : ปลงอายุสังขาร
ดังนั้นในปีสุดท้ายซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 ขณะที่ประทับที่เมืองเวสาลี พระองค์ทรงประชวรและทรงปลงอายุสังขาร คือ การกำหนดวันที่จะเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานในอีก 3 เดือนข้างหน้า เมื่อใกล้ครบ 3 เดือน พระองค์ได้เสด็จถึงปาวานคร นายจุลทะได้ถวายอาหารมื้อสุดท้ายแก่พระองค์ ระหว่างนั้นทรงประชวรหนักมากแต่ทรงอดกลั้นและเสด็จต่อไปยังสาลวโนทยาน เมืองกุสินารา ประทับไสยาสน์ระหว่างต้นรังคู่หนึ่ง
เรื่องราวเป็นอย่างไรดูจากคลิปนี้นะครับ
สังคมศึกษา ป.6
พุทธประวัติ : การแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
การแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
น้องๆที่ยังไม่เข้าใจ สังคมศึกษา ป.6 เรื่องการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ลองดูคลิปนี้นะ
พุทธประวัติ ปรินิพพาน
วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
พุทธประวัติ ปรินิพพาน
น้องๆลองดูเพื่อความเข้าใจในประวัติของพระพุทธเจ้า ช่วงปรินิพพาน ซึ่งเป็นเนื้อหาสำคัญของวิชาสังคมศึกษา ป.6 ก่อนเรียนจากคุณครูนะจ๊ะ
ความสำคัญของพระพุทธศาสนา : สังคมศึกษา ป.6
วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ
พระพุทธศาสนาได้เข้ามาในประเทศไทยมาเป็นเวลานาน คนไทยส่วนใหญ่ยังคงนับถือมาตลอด จึงเป็นเหมือนสถาบันหลักของสังคมไทย ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เช่น วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมในด้านต่างๆ จึงกล่าวได้ว่ามีความสำคัญต่อสังคมไทยดังนี้
1. ในฐานะที่เป็นศาสนาประจำชาติไทย
ประชาชนร้อยละ 95 นับถือพระพุทธศาสนา แม้ว่าประชากรส่วนใหญ่จะนับถือพระพุทธศาสนาแต่ทุกคนก็มีไมตรีจิตต่อผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆ ในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน มีการยอมรับซึ่งกันและกัน ทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
2. เป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทย
เนื่องจากความเป็นอยู่ วิถีชีวิต ภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี มีความผูกพันกันอย่างมาก และได้หล่อหลอมให้วิถีชีวิตของคนไทยเป็นผู้มีจิตใจแจ่มใส มีน้ำใจ กตัญญู อดทน
3. เป็นศูนย์รวมจิตใจให้คนไทยมีความสามัคคี
หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาสอนให้คนประพฤติปฏิบัติอยู่ในกรอบของศีลธรรมอันดีงาม โดยมีความรัก ความสามัคคี มีความเมตตาช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากให้พ้นทุกข์และอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
4. เป็นหลักในการพัฒนาประเทศชาติ
ในการพัฒนาประเทศไทยให้มีความเจริญ สิ่งสำคัญของพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ได้แก่ การมีสุขภาพแข็งแรง มีคุณธรรม สติปัญญาดี ข้อสำคัญจะต้องมีความสามัคคี มีหลักพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
5. เป็นหนึ่งในสามของสถาบันหลักของชาติไทย
ที่คนไทยทุกคนยอมรับนับถือและยึดมั่นหวงแหน ได้แก่ สถาบันของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งสถาบันทางพระพุทธศาสนาเป็นสถาบันหลักหนึ่งของสังคมไทย ที่คนไทยต่างให้การยอมรับมาแต่โบราณและมีการสืบทอดต่อมาจนถึงทุกวันนี้
สังคมศึกษา ป.6
ภาพประกอบจาก http://vasuniti.blogspot.com/2012/07/blog-post.html
กำหนดการเรียนรู้ สังคมศึกษา ป.6 2557
วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ตอนนี้ก็ใกล้จะเปิดเทอม 1 ปีการศึกษา 2557 แล้ว น้องๆเตรียมตัวเรียนกันรึยังจ๊ะ การที่เรารู้แนวทางที่จะเรียนล่วงหน้าเพื่อนๆ ทำให้เราสามารถเตรียมตัวอ่านเนื้อหามาก่อนที่คุณครูจะสอน เมื่อเวลาครูสอนไม่เข้าใจตรงไหนก็สามารถยกมือถามได้ มาดูกันว่าเนื้อหามีอะไรบ้างในสังคมศึกษา ป.6 เทอมนี้
หน่วยพระพุทธศาสนา
1. พุทธศาสนาในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติไทย
2. พุทธประวัติ
- ปลงอายุสังขาร
- ปัจฉิมสาวก
- ปรินิพพาน
- การถวายพระเพลิง
- แจกพระบรมสารีริกธาตุ
- สังเวชนียสถาน 4
3. พระรัตนตรัย (ศรัทธา 4)
-
พระพุทธ
(พุทธกิจ 5)
-
พระธรรม
(อริยสัจ 4, หลักกรรม)
-
พระสงฆ์
4. ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ
ปัญญา)
5.
โอวาท 3
- ไม่ทำชั่ว (เบญจศีล อบามุข 6 อกุศลมูล
3)
- ทำความดี (เบญจธรรม กุศลมูล พละ4 คารวะ6)
กตัญญูกตเวทีต่อพระมหากษัตรย์
มงคล 38 (มีวินัย การงานไม่มีโทษ ไม่ประมาทในธรรม)
ทำจิตใจให้บริสุทธิ์
(บริหารจิตและเจริญปัญญา)
6.
การปฏิบัติตนใน
- วันมาฆบูชา
- วันวิสาขบูชา
- วันอัฐมีบูชา
- วันอาสาฬหบูชา
- วันธรรมสวนะ
7. ประโยชน์ของการเข้าร่วมพิธีกรรม
หน่วยเศรษฐศาสตร์
1.
ผู้ผลิต
2.
ผู้บริโภค
3.
ทรัพยากร
การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
1.
ความหมายทรัพยากร
2.
การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3.
การสร้างจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากร
4.
วางแผนการใช้ทรัพยากร
ระบบเศรษฐกิจ
1.
ระบบเศรษฐกิจ
2.
หน่วยเศรษฐกิจ
3.
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
4.
ภาษีและหน่วยงานที่จัดเก็บ
5.
สิทธิผู้บริโภคและผู้ใช้แรงงาน
6.
การรวมกลุ่มเชิงเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มแม่บ้าน
สหกรณ์รายจ่าย การออม การลงทุน
หน่วยภูมิศาสตร์
1.
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
2.
ลักษณะกายภาพของประเทศไทย
3.
ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพกับภัยธรรมชาติภูมิลักษณ์ที่มีต่อภูมิสังคมของประเทศไทย
สิ่งแวดล้อม
1.
สิ่งแวดล้อม
2.
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
3.
ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
และผลกระทบที่เกิดขึ้น
4.
แนวทางการใช้
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของคนในชุมชน
สังคมศึกษา ป.6
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)