แบบฝึกหัดที่ 2 เรื่อง ชาวพุทธที่ดี
วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
สังคม ป.6 แบบฝึกหัดที่ 2
เรื่อง ชาวพุทธที่ดี
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. ในการประเคนของแด่พระสงฆ์นักเรียนมีวิธีการอย่างไร
ตอบ
2. นักเรียนคิดว่าสิ่งของใดเหมาะนำมาถวายแด่พระสงห์
ตอบ
3. หลักในการฟังธรรมเป็นอย่างไร
ตอบ
4. จงเล่าประสบการณ์ฟังธรรมของนักเีรียนมาพอสังเขป
ตอบ
5. นักเรียนมีแนวทางในการปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดีอย่างไร
ตอบ
เฉลย แบบฝึกหัดที่ 1 ชาวพุทธตัวอย่าง
แบบฝึกหัดที่ 1
เรื่อง ชาวพุทธตัวอย่าง
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. พ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีคุณธรรมที่สำคัญเกี่ยวกับศาสนาอย่างไร
ตอบ พ่อขุนรามคำแหงได้นำพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาเผยแผ่ยังสุโขทัย
2. พ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญเกี่ยวกับวัฒนธรรมอย่างไร
ตอบ ท่านประดิษฐ์อักษรไทยที่เรียกว่า "ลายสือไทย" เมื่อ พ.ศ.1826
3. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส มีคุณธรรมเด่นในด้านใด
ตอบ เป็นผู้ใฝ่รู้ใผ่เรียน
4. เพราะเหตุใดองค์การยูเนสโก จึงยกย่องสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เป็นบุคคลสำคัญระด้ับโลก
ตอบ ท่านมีความสามารถในการเขียนคำประพันธ์ทางพระพุทธศาสนา
5. ทำไมเราจึงต้องศึกษาประวัติของชาวพุทธตัวอย่าง
ตอบ เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างในชีวิต
แก้ข้อผิดให้เรียบร้อยด้วยนะครับ
ข้อสอบครั้งที่ 1 ประวัติศาสตร์ : การสถาปนารัตนโกสินทร์ (พร้อมเฉลย)
วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
จงทำเครื่องหมายหน้าข้อให้ถูกต้อง
1. ก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นสมัยของกษัตริย์พระองค์ใด
ก. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ข. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ค. สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
ง. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
2. บุคคลใดที่ทำให้การจลาจลในกรุงธนบุรีสงบลง
ก. สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
ข. สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ค. เจ้าพระยามหาสุรสิงหนาท
ง. พระยาพิชัย
3. ข้อใด ไม่ใช่สาเหตุการย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี
ไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
ก. ฝั่งตะวันออกมีพื้นที่กว้าง
ข. กรุงธนบุรีมีความคับแคบ
ค. เป็นชัยภูมิที่ป้องกันข้าศึกได้
ง. ฝั่งตะวันออกมีความงดงามมาก
4. เพราะเหตุใด รัชกาลที่ 1 จึงทรงเห็นว่ากรุงธนบุรีคับแคบ
ไม่สามารถขยายออกไปได้อีก
ก. มีน้ำเซาะตลิ่งพัง ข. ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ
ค. มีวัดขนาบสองด้าน ง. มีแม่น้ำไหลผ่าน
5. ข้อใดไม่ใช่เหตุผลในการเลือกกรุงเทพเป็นราชธานี
ก. พระราชวังเดิมคับแคบ
ข. ทำเลที่ตั้งมีความอุดมสมบูรณ์
ค. กรุงเทพมหานครเป็นเมืองอกแตก
ง. เป็นชัยภูมิที่ดีในการป้องกันข้าศึก
6. ข้อใดไม่ใช่ชนชั้นปกครอง
ก. สามัญชน ข. ขุนนาง
ค. เชื้อพระวงศ์ ง. พระมหากษัตริย์
7. การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นการ
ปกครองแบบใด
ก. แบบประชาธิปไตย
ข. แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ค. แบบประธานาธิบดี
ง. แบบเผด็จการทหารชาวพุทธตัวอย่าง : ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ชาวพุทธตัวอย่าง : ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์
แบบฝึกหัดที่ 1 เรื่อง ชาวพุทธตัวอย่าง (เฉลย)
วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔
_________________________________
แบบฝึกหัดที่ 1
เรื่อง ชาวพุทธตัวอย่าง
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. พ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีคุณธรรมที่สำคัญเกี่ยวกับศาสนาอย่างไร
ตอบ พ่อขุนรามคำแหงได้นำพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาเผยแผ่ยังสุโขทัย
2. พ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญเกี่ยวกับวัฒนธรรมอย่างไร
ตอบ ท่านประดิษฐ์อักษรไทยที่เรียกว่า "ลายสือไทย" เมื่อ พ.ศ.1826
3. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส มีคุณธรรมเด่นในด้านใด
ตอบ เป็นผู้ใฝ่รู้ใผ่เรียน
4. เพราะเหตุใดองค์การยูเนสโก จึงยกย่องสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เป็นบุคคลสำคัญระด้ับโลก
ตอบ ท่านมีความสามารถในการเขียนคำประพันธ์ทางพระพุทธศาสนา
5. ทำไมเราจึงต้องศึกษาประวัติของชาวพุทธตัวอย่าง
ตอบ เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างในชีวิต
__________________________________________________________________
ข้อสอบประวัติศาสตร์
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ข้อสอบ ครั้งที่ 1 วิชาประวัติศาสตร์ ชั้น ป.6 เรื่อง
พัฒนาการกรุงรัตนโกสินทร์
1. ก่อนสมัยรัตนโกสินทร์
เป็นสมัยของกษัตริย์
พระองค์ใด
ก.
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ข.
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ค.
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
ง.
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
2. การปกครองแบบจตุสดมภ์ ส่วนใดที่มีหน้าที่
ดูแลเรื่องรายได้ของรัฐ
ก. กรมเวียง ข. กรมวัง
ค. กรมคลัง ง. กรมนา
3. ข้อใด ไม่ใช่สาเหตุการย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้่าเจ้าพระยา
ก.
ฝั่งตะวันออกมีพื้นที่กว้าง
ข.
กรุงธนบุรีมีความคับแคบ
ค.
เป็นชัยภูมิที่ป้องกันข้าศึกได้
ง.
ฝั่งตะวันออกมีความงดงามมาก
4. ข้อใด ผิด
ก.
กรมเวียง -
เทศบาล
ข.
กรมวัง -
ธรรมาธิกรณ์
ค.
กรมคลัง -
โกษาธิบดี
ง.
กรมนา -
เกษตราธิการ
5.
หัวเมืองประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้พระนครทุกๆ กี่ปี
ก.
2 ปี ข. 3
ปี
ค.
4 ปี ง. 5
ปี
|
ข้อสอบก่อนเรียน สังคมศึกษา
แบบทดสอบก่อนเรียน วิชา สังคมศึกษาฯ ชั้น ป.6 หน่วย พระพุทธศาสนา
คำชี้แจง ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย × ทับข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียวลงในกระดาษคำตอบ
1. ข้อใดไม่ใช่เหตุผลที่กล่าวว่าพระพุทธศาสนาเป็น ศาสนาประจำชาติไทย ก. เป็นที่มาของวัฒนธรรมไทย ข. มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทย ค. เป็นศาสนาที่คนไทยทุกคนต้องนับถือ ง. พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงนับถือ 2. พระพุทธศาสนามีความสำคัญต่อสังคมไทยหลาย ประการยกเว้นข้อใด ก. เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง ข. เป็นเครื่องเตือนสติไม่ให้ทำความชั่ว ค. เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในการปกป้องคุ้มครองชีวิต ง. เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานศิลปะ 3. วันสำคัญใดมีความเกี่ยวข้องกับการปลงอายุสังขารของพระพุทธเจ้า ก. มาฆบูชา ข. วิสาขบูชา ค. อัฏฐมีบูชา ง. อาสาฬหบูชา 4. สังเวชนียสถานใดคือสถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ก. ลุมพินีวัน ข. เจดีย์พุทธคยา ค. ธัมเมกขสถูป ณ สารนาถ ง. สถูปและวิหาร ณ กุสินารา 5. สกล มีเพื่อนเป็นคนโมโหง่ายจึงอยากยกตัวอย่าง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาเป็นข้อเตือนใจ แก่เพื่อน สกลควรยกตัวอย่างหลักธรรมใด ก. คารวะ 6 ข. เบญจศีล ค. อบายมุข 6 ง. อกุศลมูล 3 | 6. “เป็นโอกาสที่พุทธศาสนิกชนได้ทำบุญ ฟังธรรม รักษาศีลให้บริสุทธิ์เดือนละ 4 ครั้ง” จากข้อความดังกล่าวหมายถึงวันสำคัญใด ก. วันมาฆบูชา ข. วันวิสาขบูชา ค. วันอัฎฐมีบูชา ง. วันธรรมสวนะ 7. ลูกโป่งเชื่อว่าใครทำอย่างไรต้องได้รับผลอย่างนั้น ความเชื่อของลูกโป่งสอดคล้องกับหลักธรรมใด ก. โอวาท 3 ข. ศรัทธา 4 ค. กุศลมูล 3 ง. เบญจศีล 8. ในวันมาฆบูชา พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติอย่างไร ก. เลี้ยงอาหารกลางวันเด็กกำพร้า ข. ทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา ค. แห่เทียนตอนเช้า เวียนเทียนตอนเย็น ง. นำเถ้ากระดูกบรรพบุรุษไปบำเพ็ญกุศล 9. การประกอบพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนา ควรปฏิบัติอย่างไร ก. เดินเวียนซ้ายรอบโบสถ์ 3 รอบ ข. เดินเวียนขวารอบโบสถ์ 3 รอบ ค. เดินเวียนซ้ายรอบศาลาการเปรียญ 3 รอบ ง. เดินเวียนขวารอบศาลาการเปรียญ 3 รอบ 10. การประกอบศาสนพิธีใดต้องกระทำในช่วงเวลา ที่กำหนด ก. ทอดกฐิน ข. ทอดผ้าป่า ค. ถวายสังฆทาน ง. สวดมนต์ไหว้พระ |
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
1. พระราชประวัติ
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และเป็นพระอนุชาของพ่อขุนบานเมือง มีพระนามเดิมว่า พระราม ขณะที่มีพระชนมายุได้ 19 พรรษา ได้ไปช่วยพระราชบิดาในการรบ สามารถชนะขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด จึงได้รับพระราชทานนามว่า พระรามคำแหง ต่อมาสมัยพ่อขุนบานเมืองได้ทรงช่วยทำสงครามขยายอาณาเขต
สังคมศึกษา ป.6
แนวข้อสอบสังคมศึกษา ตอน1
วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554
จงทำอย่างตั้งใจและให้ถูกต้อง
1. ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายในการนับถือศาสนา 5. การฝึกสมาธิไม่ได้มุ่งประโยชน์ในข้อใด
ก. เพื่อให้ชีวิตมีความสุข ก. ทำให้คนยกย่อง
ข. เพื่อให้สังคมสงบสุข ข. มีความจำแม่นยำ
ค. เพื่อให้มีฐานะร่ำรวยขึ้น ค. นอนหลับสนิทไม่ฝันร้าย
ง. เพื่อให้จิตใจมีเมตตา ง. ทำให้จิตใจสบายหายเครียด
2. หลักธรรมข้อใดเป็นคุณธรรมที่ช่วยให้เรา 6. พิธีกรรมของศาสนาคริสต์ที่กระทำเพื่อ
ได้พัฒนาตนเอง
และลดความเห็นแก่ตัว ยืนยันถึงการยอมรับนับถือศาสนาคริสต์
ก. การบริจาค คือพิธีกรรมใด
ข. ความอดทน ก. พิธีศีลจุ่ม ข. พิธีศีลกำลัง
ค. ความซื่อสัตย์ ค. พิธีศีลแก้บาป ง. พิธีศีลบวช
ง. การบำเพ็ญประโยชน์ 7. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ด้านการพัฒนา
3. หลักธรรมในข้อใดที่ช่วยแก้ไขปัญหา บุคลิกภาพจากการฝึกสมาธิ
ความขัดแย้งในสังคมให้ถูกต้อง ก. มีความสุภาพนิ่มนวล
ก. การให้อภัย ข. กระฉับกระเฉง ไม่เซื่องซึม
ข. ความสามัคคี ค. มีความเศร้าหมอง ไม่ร่าเริง
ค. ความเมตตากรุณา ง. มีความสงบเยือกเย็น ไม่ฉุนเฉียว
ง. ความยุติธรรม 8. การละหมาดตามศาสนบัญญัติของศาสนา
4. ก่อนฝึกสมาธิไม่ควรปฏิบัติในข้อใด อิสลาม ต้องกระทำอย่างไร
ก. แผ่เมตตาให้มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ก. วันละ 5 ครั้ง
ข. คิดทบทวนเรื่องต่างๆ ที่ผ่านมา ข. วันละ
5 เวลา
ค. กำหนดเวลาในการฝึกปฏิบัติ ค. เวลาละ 5 ครั้ง
ง. ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ง. กี่ครั้งก็ได้ตามศรัทธา
9. ข้อใดเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับวินัยสงฆ์ 14. การปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา
ก. ทอดผ้าป่า ข. นั่งสมาธิ เกิดผลดีต่อสิ่งใดมากที่สุด
ค. เวียนเทียน ง. ทอดกฐิน ก. จิตใจ ข. ร่างกาย
10. พิธีรับคนเข้าสู่ศาสนาสิกข์
คือพิธีกรรมใด ค. อารมณ์ ง. สมอง
ก. พิธีสังคัต 15. การทำความดีต้องมีลักษณะอย่างไร
ข. พิธีปาหุล ก. ทำแล้วคนในสังคมยอมรับ
ค. พิธีศีลกำลัง ข. ทำแล้วตนเองไม่เดือดร้อน
ง. พิธีอมฤตสังสการ ค. ทำด้วยกิริยาที่ดี
11. การจ่ายซะกาตในศาสนาอิสลาม ง. ทำด้วยเจตนาที่ดี
เป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับเรื่องใด 16. การปฏิบัติตามหลักธรรมใดเป็นประจำ
ก. การเคารพกราบไหว้ต่อพระเจ้า จะช่วยขจัดความเห็นแก่ตัวลงได้
ด้วยอิริยาบถต่างๆ ก. ความเมตตา
ข. การไปประกอบศาสนกิจ ณ เมืองเมกกะ ข. ความซื่อสัตย์
ค. การบริจาคทานแก่คนที่เหมาะสม ค. ความเสียสละ
ตามศาสนบัญญัติ ง. ความอดทน
ง. การละเว้นจากการกิน และการดื่ม 17. ผลของการทำความดีตามคำสอน
สิ่งมึนเมา
ของศาสนา ข้อใดสำคัญที่สุด
12. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของศาสนา ก. มีคนยกย่อง
ก. ช่วยให้มนุษย์ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ข. มีคนเมตตา
ข. สอนให้คนมีความโลภ โกรธ หลง ค. มีความสุขทางใจ
ค. ช่วยสร้างสรรค์วัฒนธรรม ง. ได้สิ่งตอบแทนเป็นรางวัล
ง. ช่วยตอบสนองความต้องการทางด้าน 18. ข้อใดปฏิบัติตามหลักธรรมได้ถูกต้อง
จิตใจ ก. หิวข้าวแต่ไม่ยอมกิน เพราะกลัว
13. ก่อนที่พระพุทธศาสนาถือกำเนิดขึ้นมา เพื่อนว่า
ชาวอินเดียในสมัยก่อนนับถือศาสนาใด ข. รวมกลุ่มแสดงพลัง โดยยกพวก
ก. คริสต์ ไปชกต่อยกับโรงเรียนอื่น
ข. อิสลาม ค. ทำการบ้านแทนเพื่อน เพราะเพื่อน
ค. พราหมณ์ ทำไม่ได้
ง. สิกข์ ง. ตำหนิน้อง เพราะน้องรังแกเพื่อน
ตั้งใจทำนะจ๊ะ
ตั้งใจทำนะจ๊ะ
ประชากรในทวีปแอฟริกา
วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554
ประชากรในทวีปแอฟริกา
ทวีปแอฟริกามีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 872,515,215 คน5 เป็นทวีปที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกามีอัตราการเพิ่มประชากรสูง ที่สุด ในโลกนับเป็นปัญหาสำคัญเนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ใน ทวีปแอฟริกายังมีความเจริญทางเศรษฐกิจน้อยต้องอาศัยเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็วทำให้ขาดแคลนที่ดินทำกิน และทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม
ความหนาแน่นและการกระจายของประชากร
ทวีปแอฟริกามีความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากร 29
คนต่อตารางกิโลเมตร
บริเวณที่มีประชากรอาศัยหนาแน่น 5 เขต
ได้แก่ ลุ่มแม่น้ำไนล์ ในอียิปต์และซูดานชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ ในโมร็อกโก
แอลจีเรีย และตูนิเซีย ชายฝั่งตะวันตก ในแกมเบีย กินีบิสเซา กินี
เซียร์ราลีโอน ไลนีเรีย โกตดิวัวร์
กานา โตโก เบนิน ที่ราบสูงภาคตะวันออก ในยูกันดา
เคนยา รวันดา บุรุนดี
แทนซาเนีย แซมเบีย
บริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง
ได้แก่ ตอนเหนือบริเวณทะเลทราย สะฮารา ทะเลทรายลิเบีย
และทะเลทรายลิเบียเชื่อมต่อกันตั้งแต่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกจนถึงทะเลแดง ตอนใต้บริเวณทะเลทรายคาลาฮารี ทางตะวันตกบริเวณทะเลทรายนามิบ
ภูมิืศาสตร์ทวีปแอฟริกา (ตอนสุดท้าย)
วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554
ครั้งหน้าจะนำแนวข้อสอบให้ลองทำดูนะครับ
สภาพทั่วไปของทวีปแอฟริกา (ตอนที่1)
วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554
นักเรียนลองดูสภาพทั่วไปของทวีปแอฟริกา และลองสรุปดูนะครับ
พระพุทธศาสนาในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554
พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่ประเทศลาวสมัยอาณาจักรหนองแส ราวๆ พุทธศตวรรษที่ 7 ต่อมาในรัชสมัยของเจ้าฟ้างุ้ม(ประมาณ พ.ศ. 1890) ซึ่งเป็นราชโอรสของเจ้าผีฟ้า เจ้าฟ้างุ้มได้อภิเษกสมรสกับพระนางแก้วยอดฟ้า ผู้เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าศรีจุลราช กรุงอินปัตถ์ในราชอาณาจักรกัมพูชา
เมื่อเจ้าฟ้างุ้มได้ตีเมืองหลวงพระบางและเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1896 พระองค์ได้ทรงรวบรวมหัวเมืองต่างๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กล่าวสำหรับพระนางแก้วยอดฟ้าพระนางเองทรงเลื่อมใสและเคารพนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เมื่อพระนางเสด็จมาประทับ ณ อาณาจักรล้านช้าง ซึ่งขณะนั้นชาวอาณาจักรล้านช้างยังนับถือลัทธิผีสางเทวดาอยู่พระนางจึงกราบทูลให้เจ้าฟ้างุ้มแต่งคณะฑูตไปทูลของพระสงฆ์จากพระเจ้าศรีจุลราชและพระเจ้าศรีจุลราชก็ได้ทรงให้ความร่วมมือโดยส่งพระมหาปาสมัตเถระและพระมหาเทพลังกา พร้อมพระสงฆ์อีก 20 รูป เดินทางนำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ยังดินแดนประเทศลาว พร้อมกับได้พระราชทานพระพุทธรูปปัญจโลหะองค์หนึ่ง พระนามว่า “พระบาง”พร้อมด้วยพระไตรปิฎก และหน่อพระศรีมหาโพธิ์มาถวายแก่เจ้าฟ้างุ้มด้วยนับแต่นั้นมาพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทก็ได้ประดิษฐานในประเทศลาวและได้กลายเป็นศาสนาประจำชาติในที่สุดพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองสืบมา
จนถึงรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2091 – 2114) พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง ได้ทรงนำพระแก้วมรกตจากเมืองเชียงใหม่มาไว้ที่เมืองหลวงพระบาง เมื่อย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางไปเมืองเวียงจันทร์ ก็ทรงนำพระแก้วมรกตไปไว้ที่เมืองเวียงจันทร์ด้วย และได้ทรงโปรดฯให้สร้างพระธาตุหลวงไว้ที่นี้ด้วย
เมื่อสิ้นสุดรัชกาลของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชพระพุทธศาสนาในประเทศลาวไม่ค่อยเจริญรุ่งเรืองนักแต่ด้วยเหตุที่ประเทศลาวกับประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกัน ทำให้ประเทศทั้ง 2 มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นต่อกัน ไทยได้ให้ความช่วยเหลือทางศาสนามาโดยตลอดและเมื่อลาวตกเป็นอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2436พระพุทธศาสนาก็เสื่อมโทรมลงเพราะขาดการทำนุบำรุงและเมื่อลาวได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสแล้ว คณะสงฆ์ไทยก็มีส่วนช่วยปรับปรุงการศึกษาด้านศาสนาในลาว แต่เมื่อลาวตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลคอมมิวนิสต์แล้ว การติดต่อให้ความช่วยเหลือทางศาสนาระหว่างประเทศก็หยุดชะงักลง แต่ถึงกระนั้นก็ตามชาวลาวส่วนใหญ่ก็ยังมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแนบแน่นและพยายามประคับประคองพระพุทธศาสนาให้ตั้งมั่นอยู่ในจนถึงปัจจุบัน
ที่มา : http://mediacenter.mcu.ac.th/data/caipyo/m2/Unit1/unit1-3.php
พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย
วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554
ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเผยแผ่เข้าสู่ประเทศกัมพูชาในช่วงที่อาณาจักรฟูนันและอาณาจักรเจนละเจริญรุ่งเรืองแต่เดิมประชาชนในอาณาจักรเหล่านี้นับถือนิกายไศวะ คือนับถือพระศิวะประพระอิศวรตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์
ส่วนพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาภายหลัง สาเหตุที่ชาวกัมพูชาหันมานับถือพระพุทธศาสนา เนื่องจากในรัชสมัยของพระเจ้าวรมัน (พ.ศ. 1021-1057) พระภิกษุนาคเสนซึ่งได้ติดตามพ่อค้าชาวฟูนันมาจากเมืองกวางตุ้งและได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ด้วย ทำให้พระองค์เกิดความเลื่อมใสและทรงยกย่องและอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ต่างก็มีความเจริญและความเสื่อมใสไม่คงที่สุดแล้วแต่พระมหากษัตริย์ในแต่ละสมัยทรงเลื่อมใสศาสนาใดพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหนี่งในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ( พ.ศ. 1511-1544)โดยทรงโปรดให้มีการนำเอาคัมภีร์จากต่างประเทศเข้ามาสู่อาณาจักรเป็นครั้งแรกและมีการส่งเสริมการปฎิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น
ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1545-1593) พระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานซึ่งได้รับอิทธิพลจากนครศรีธรรมราชอย่างเคร่งครัด จนกระทั่งในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724 – 1762) ทรงโปรดฯให้สร้างวัดคติมหายาน ต่อมาประชาชนส่วนใหญ่ได้หันมานับถือพระพุทธศาสนานิกายหินยานมากขึ้นและแม้แต่ปัจจุบันนี้ประชาชนส่วนใหญ่ของกัมพูชาก็นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานเช่นเดียวกับไทย เนื่องมาจากการได้รับอิทธิพลการแพร่หลายไปจากไทยนั่นเอง
พระพุทธศาสนาในประเทศสหภาพพม่า หรือเมียนมาร์(MYANMAR)
พระพุทธศาสนาที่เผยแผ่เข้าสู่ประเทศสหภาพพม่าในระยะแรกคือพระพุทธศาสนาสัทธิเถรวาทหรือนิกายหินยานได้เข้าไปประดิษฐานที่เมืองสุธรรมบุรีหรือเมืองสะเทินซึ่งเป็นเมืองหลวงของมอญซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ ส่วนพม่าตอนเหนือมีเมืองพุกามเป็นเมืองหลวง
พระพุทธศาสนาลัทธิอาจริยวาทหรือนิกายมหายานได้เผยแผ่มาจากแคว้นเบงกอลและโอริสาของอินเดียในสมัยของพระเจ้าอนุรุทธมหาราช (พระเจ้าอโนรธามังช่อ)ทรงครองราชย์ที่เมืองพุกาม(พ.ศ. 1587) พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ทรงปรีชาสามารถมากทรงรวบรวมดินแดนของพม่าให้เป็นแผ่นดินเดียวกัน ได้สำเร็จและเมื่อพระองค์ทรงตีเมืองสะเทินได้จึงทรงโปรดให้อาราธนาพระภิกษุสงฆ์และไตรปิฎกจากเมืองสะเทิมไว้ที่เมืองพุกาม พร้อมกันนี้ประชาชนส่วนใหญ่ได้นับถือพระพุทธศาสนานิกายหินยาน และพระองค์ทรงเสื่อมใสศรัทธาในลัทธิหินยานด้วย ทำให้พระพุทธศาสนาในพม่าตอนใต้เสื่อมลง
นอกจากนี้พระเจ้าอโนรธามังช่อยังได้ทรงส่งสมณฑูตไปติดต่อกับลังกาและไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์มาจากลังกาด้วยในรัชสมัยของพระเจ้าธรรมเจดีย์กษัตริย์มอญขึ้นครองราชย์พระองค์ได้ทรงมีพระราชดำริว่าพระพุทธศาสนาในเมืองมอญในขณะนั้นเสื่อมลงมาก จึงโปรดให้มีการชำระพระพุทธศาสนาในบริสุทธิ์โดยทรงให้พระภิกษุทุกรูปในเมืองมอญลาสิกขาและเข้ารับการอุปสมบทใหม่จากพระอุปัชฌาย์และพระอันดับที่ล้วนได้รับอุปสมบทจากลังกาเป็นผู้ให้อุปสมบทแต่หลังจากนั้นพระพุทธศาสนาก็เลื่อมลงอีก
สาเหตุเนื่องมาจากพม่ากับมอญทำสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่กันอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งถึงประมาณ พ.ศ. 2300 เมื่อพระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่าได้ยกทัพไปทำลายกรุงหงสาวดีอย่างราบคาบ ชนชาติมอญก็สูญสิ้นอำนาจลงอย่างเด็ดขาดพระพุทธศาสนาในประเทศพม่าได้รับการทำนุบำรุงจนเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
ในสมัยพระเจ้ามินดง( พ.ศ. 2395-2420) พระองค์ได้ทรงอุปถัมภ์การทำสังคายนาพระไตรปิฎกที่พม่าระหว่าง พ.ศ. 2411-2414 ณ เมืองมัณฑเลย์และโปรดเกล้าฯให้จารึกพระไตรปิฎกลงบนแผ่นหินอ่อนแล้วทำสถูปครอบไว้ ซึ่งยังปรากฎอยู่ที่เชิงเขาเมืองมัณฑะเลจนถึงทุกวันนี้ปี พ.ศ. 2429 พม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกล้มลง จึงส่งผลให้พระพุทธศาสนาได้รับความกระทบกระเทือนตามไปด้วยแต่ถึงกระนั้น ประชาชนชาวพม่าก็ยังคงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแนบแน่นตลอดมา จนเมื่อพม่าได้รับเอกราช เมื่อ พ.ศ. 2491 ฯพณฯ อุนุ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกเมื่อ พ.ศ. 2493 และต่อมารัฐบาลได้ออกกฎหมายรับรองให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ในปี พ.ศ. 2504
ที่มา : http://mediacenter.mcu.ac.th/data/caipyo/m2/Unit1/unit1-1.php
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)